กรรมพิพากษา

  กรรมพิพากษา
คนทำดีได้ชั่วไม่มีฉันใด
คนทำชั่วได้ดีก็ไม่มีฉันนั้น
ขออย่าปฏิเสธกฎแห่งความจริงแท้ข้อนี้เด็ดขาด
หากไม่อยากตกอยู่ภายใต้กรรมชั่วที่ก่อไว้เพราะคิดว่า
ไม่เป็นไรใครๆ ก็ทำกัน
อยากจะบอกว่า กรรมเป็นของใครของมัน
สิ่งใดที่แม้คนหมู่มากทำก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสิ่งดี
สิ่งดีคือสิ่งดี  แม้คนหนึ่งคนทำก็เป็นสิ่งดี
ผิดกับสิ่งชั่วที่แม้คนเป็นแสนเป็นแสนเป็นล้านทำก็คือสิ่งชั่วอยู่ดี
ฉะนั้นเลือกให้ถูก  ชีวิตเป็นของคุณ

ทุกคนมี  กรรม  เป็นมรดกของตนเอง
การเกิดมาเป็นมนุษย์ที่ไม่เหมือนกันทั้งรูปร่างหน้าตา   ฐานะ  ชาติตระกูลก็ล้วนแต่ถูกเสกสรรค์ปั้นแต่งมาจาก  กรรม  ที่ตนได้ประกอบไว้กันทั้งนั้น  โดยสิ่งที่เราได้รับทุกขเวทนา  สุขเวทนาในปันจุบัน  ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกรมที่เคยทำไว้ในอดีต  อีกส่วนหนึ่งคือกรรมในปัจจุบันที่เราสามารถกำหนดตัวเราเองได้ว่า  ต่อไปในวันข้างหน้าชีวิตเราจะเป็นเช่นไร  จะดีหรือชั่ว?
พระพุทธเจ้าตลอดจนครูบาอาจารย์ทั้งหลายจึงสอนให้สาธุชนอยู่กับปัจจุบันเป็นสำคัญ  หาใช่อดีตที่ล่วงเลยมาแล้ว  หรือมัวพะวงเพ้อฝันกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง  เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีการเปลี่ยนแปลงได้จากการกระทำของเรานี้เอง  แต่ให้เอาปัจจุบันเป็นตัวตั้งเท่านั้น  เช่น  ปัจจุบันเราทำดีอนาคตเราย่อมดี  หากปัจจุบันเราทำชั่ว  อนาคตก็ย่อมได้รับกรรมชั่วเป็นของธรรมดา
ส่วนกรรมในอดีตที่ล่วงมาแล้วเราไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้  แต่สามารถบรรเทาผลกรรมที่ปรากฏได้โดยการหมั่นประกอบความดีในปัจจุบันให้มาก  และทำอย่างสม่ำเสมอ  จนเรียกว่าเป็นอาจิณณกรรม  แล้วกรรมดีนั้นก็จะพิพากษาให้เราได้รับแต่สิ่งที่ดีๆ ส่วนใครที่ในปัจจุบันประกอบกรรมชั่วก็ต้องได้รับผลแห่งกรรมชั่วนั้นอีกทั้งยังจะทำให้กรรมในอดีตไม่ผ่อนผัน  การลงทัณฑ์จึงปรากฏอย่างเต็มกำลัง


 วิบากกรรมอันนำมาสู่ความชอกช้ำรำกำทรวง  ก่อทุกข์ก่อโทษไม่รู้จบ
 ก็เพราะผลจากสิ่งที่ตนได้กระทำ  หาใช่ใครที่มาทำลายชีวิต  ลิขิตตนให้ต้องเศร้าโศก  หากไม่ใช่ฝีมือของตนเองด้วยการกระทำทั้งดีและชั่วที่ปะปนกันไปในแต่ล่ะภพชาติ  ก่อเกิดอำนาจแห่งวิบากกรรม  ส่งผลให้ได้รับทุกข์หรือสุขในภพชาติปัจจุบัน  ด้วยว่า  กรรมเก่า  ที่เล่าเรื่องแห่งชีวิตอันสถิตในรูปนามทั้ง 3 ภพ
เช่น  สวรรค์  มนุษย์  และอบายภูมิ  ต่างกระทำกรรมอันว่าด้วยบาปบุญไว้ถ้วนหน้า  ทั้งรู้และไม่รู้นั่นก็ดี  กรรมจึงต่างที่เจตนาทำกรรมชั่วแต่ผลนั้นก็ได้รับเสมอตัว  อาจบรรเทาลดหลั่นตามพลังบุญ  ตรงกันข้ามกับกรรมที่สร้างด้วยเจตนาย่อมนำมาสู่ทุกข์โศกวิปโยคพลันทั้งชีวิตที่เกิดมาก็พบพานแต่คนพาล  สุดแสนรำคาญมากไฉย? ก็มิอาจปฏิเสธได้  เคราะห์ก็ซ้ำกรรมก็ชัดเหมือนคลื่นยักษ์ในทะเล  ที่มาพร้อมกับกระแสของความบ้าคลั่ง  พัดพาดวงจิตให้ซวนเซไปกับวิบากกรรม  จนชั่วกัปบรรลัยกัลป์ก็ไม่สิ้นการกระทำ  เวียนบรรจบมาครบวาระที่ต้องชดใช้กรรมให้ทุกข์ทรมานอยู่ร่ำไป
กรรม จึงสถิตอยู่ในภพภูมิวนเวียนไปไม่รู้จบ  เพราะตราบใดที่มีการเกิด  ตราบนั้นย่อมมีการสร้างกรรมจากกรรมเก่าที่ได้รับวิบากกรรมแล้วยังต่อ เนื่องด้วยการสร้างกรรมใหม่แม้จะเกิดอีกสักกี่ร้อยพันชาติก็ไม่สามารถใช้ กรรมได้หมด  เพราะเทียวเกิดเทียวตายอยู่เช่นอยู่เช่นนั้น  ทำกรรมดีชั่วคละเคล้ากันตลอดเวลา
พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ปุถุชนเดินทางสายกลาง  อันจะนำมาซึ่งการพ้นทุกข์ในวัฏสงสาร  ไม่ต้องกลับมาเวียนว่าย  ตาย  เกิดให้ต้องชดใช้วิบากกรรมอีกต่อไป
หากแต่ปุถุชนโดยมากที่ไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างถาวรเพราะยังยึดมั่นถือมั่นอยู่นั้น  ก็ขอให้กระทำความดีไว้  เพราะกรรมดีจะช่วยบรรเทาวิบากกรรมชั่ว  อีกทั้งยังเป็นเครื่องนำพาให้จิตไปสู่สุคติในภพต่อไปได้
กรรมคือ  การกระทำทั้งดีและชั่ว  ซึ่งไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนาและได้กระทำไว้ในภพชาติใดก็ตาม  ผลของกรรมย่อมปรากฏเรียกว่า  วิบากกรรม  ซึ่งกรรมในอดีตนั้นเราเรียกกันว่า  บุพกรรม  เป็นเหตุให้เกิดผลคือ วิบากกรรม  ที่เราได้รับผลกันอยู่ในปัจจุบันนี้  ซึ่งวิบากกรรมก็จะมีทั้งดีและชั่วปะปนกันไปในแต่ละรูปแบบ  โดยเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ากรรมที่เราทำไว้ในภพชาติปางไหนก็ตาม  ผลกรรมจะปรากฏในเวลาใด  หรือแม้แต่กรรมในปัจจุบันที่เราได้กระทำนี้ก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่า  จะปรากฏผลแห่งกรรมในอีกกี่วัน กี่เดือน กี่ปี หรือจะเกิดผลในชาติต่อๆไป
ซึ่งเวลาของการส่งผลแห่งกรรมนั้นก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกรรมชนิดนั้นๆ ด้วย  เพราะกรรมบางอย่างอาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  แต่กรรมบางอย่างอาจจะให้ผลช้า  และขึ้นอยู่กับบุญกรรมที่เราประกอบไว้ในปัจจุบันด้วยว่ามีกำลังมากพอที่จะทำให้ผลของบาปกรรมชะลอออกไปก่อน  หรือบรรเทาให้เบาบางลงได้
ซึ่งแม้ว่าบุญกรรมที่ประกอบในปัจจุบันจะทำให้ผลของกรรมปรากฏช้าลงและมีวิบากที่มีความรุนแรงลดน้อยลงก็ตาม  แต่อย่างไรแล้วเราก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้นอยู่ดี  อาจจะช้าจะเร็ว  จะมากจะน้อยก็ล้วนแต่ต้องรับผลกรรมนั้นทั้งสิ้น
                หากจำแนกในเรื่องของกรรมออกเป็นกายกรรม  วจีกรรม  มโนกรรมแล้วย่อมมีส่วนสัมพันธ์กรรมทั้งหมด  เช่น  ใจคิดชั่วโดยไม่สามารถยับยั้งความคิดได้ก็จะแสดงออกทางวาจาและทางกายได้  ทำให้เกิดวิบากกรรมที่รุนแรงมากขึ้นขณะเดียวกันหากใจคิดแต่วาจาและกายไม่กระทำ  ก็เป็นบาปกรรมเหมือนกันเพราะใจคิดชั่วก็เป็นอกุศลแล้ว  ย่อมได้รับความทุกข์จากผลกรรมเช่นเดียวกันแต่จะมากจะน้อยอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับประเภทของกรรม
กฎแห่งกรรม
ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  คือกฎแห่งกรรมที่ไม่ซับซ้อน  เพราะการกระทำเป็นเหตุ  ส่งผลให้เกิดการรับผลของการกระทำ  นี้คือหลักง่ายๆ ของกฎแห่งกรรม  ที่เราทุกคนต่างก็รู้กันดี
            หากแต่ความซับซ้อนของ  กรรม  นั้นไม่ใช่เหตุของกรรมแต่เป็นวิบากกรรมที่ส่งผล  เนื่องจากในอดีตเราได้ทำกรรมไว้หลายประการทั้งดีละชั่วและทำไว้หลายชาติด้วยกัน  การปรากฏของกรรมในปัจจุบันจึงอาจจะเป็นผลกรรมที่เราทำไว้ในชาติไหนนั้นก็คงไม่อาจทราบได้  อาจเป็นผลของกรรมที่กระทำเป็นชนิดเดียวกันและทำไว้ในหลายภพหลายชาติ  แต่มาให้ผลในเวลาเดียวกัน
                เช่น  ในอดีตอาจจะเคยฆ่าสัตว์มาก่อนและขณะเดียวกันก็เคยส่งเสริมให้ผู้อื่น ทำแท้งหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นฆ่าสัตว์ตัดชีวิตโดยเป็นคนสั่งการส่งผลให้ใน ปัจจุบันได้เกิดโรคภัยต่างๆ ขึ้นมากมาย  จากโรคหนึ่งก็ลุกลามไปอีกโรคหนึ่ง  ที่เรียกกันว่า  โรคแทรกซ้อน  และบางครั้งก็เกิดเป็นโรคประหลาดชนิดที่รักษาไม่หายก็มีให้เห็นมาก 
                ดังนั้น วิบากกรรม  จึงมีความซับซ้อนและละเอียดมาก  เพราะบางครั้งผลกรรมที่เราได้รับอาจไม่ได้มาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งโดยตรง  แต่อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุรวมกันแล้วส่งผลในเวลาเดียวกันก็เป็นได้  เนื่องจากการกระทำกรรมในเรื่องๆ  หนึ่งอาจทำให้ผิดศีลหลายข้อด้วยกัน  จึงแยกออกเป็นกรรมหลายประเภท
                เช่น  การประพฤติผิดในกาม  เป็นชู้กับผู้อื่น  (ผิดศีลข้อ 3 )  โดยปิดบังซ่อนเร่นไม่ให้ภรรยาหรือสามีของตนล่วงรู้  ถือเป็นการหลองลวง  โกหกมดเท็จ (ผิดศีลข้อ 4)  เมื่อภรรยาหรือสามีล่วงรู้ก็เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันครอบครัวแตกแยกเพราะความหึงหวงจากอีกฝ่าย  ลุกลามบานปลายเป็นการใช้กำลัง   ทำให้เข่นฆ่ากันถึงตายก็มี (ผิดศีลข้อ 1)  ทั้งนี้แค่เพียงการเป็นชู้กับคนอื่นโดยตั้งใจก็ถือเป็นการเบียดเบียนครอบครัวของอีกฝ่ายไปในตัวอยู่แล้ว
                หรือการดื่มสุราแล้วเกิดการทะเลาะวิวาท  เกิดการเข่นฆ่ากัน  เกิดการประพฤติผิดในกาม  ลักขโมย ฯลฯ   เพราะการดื่มสุราทำให้คนขาดสติ  จึงนำมาซึ่งการกระทำผิดศีลหลายข้อด้วยกัน  เกิดเป็นวิบากกรรมที่ต้องรับ
                ความวับซ้อนของวิบากกรรมจึงยากเกินบรรยายได้หมด  เพราะอย่างที่กล่าวไปว่า  การกระทำเดียวนำมาซึ่งกรรมหลายอย่าง  ทำให้ได้รับผลของกรรมของความหนักเบา  ซึ่งอาจจะต่างวาระกันออกไป  ส่วนอีกประเภทหนึ่งก็คือ  ทำกรรมลักษณะเดียวกันในหลายภพหลายชาติ  แต่กรรมก็ดันมาประจวบเหมาะให้ผลพร้อมๆกัน  ทำให้ผู้นั้นต้องได้รับทุกขเวทนามหาศาล
ดังนั้นเพียงเราเชื่อในกฎแห่งกรรม  ว่าทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  แล้วมุ่งมั่นทำความดี  ละเว้นความชั่ว  ก็คงเพียงพอต่อความเข้าใจในเรื่องกฎแห่งกรรมแล้ว
กรรมพิพากษาจากการทำผิดศีล
วิบากกรรมชั่วต่างๆ ที่เราพึงได้รับกันอยู่ในปัจจุบันล้วนมาจากการกระทำของเราโดยการทำผิดศีลเป็นหลัก  ฉะนั้นการที่พระพุทธเจ้าท่านทรงให้เราพึงรักษาศีลก็เพราะให้ละเว้นการกระทำกรรมชั่วอันจะนำมาซึ่งวิบากกรรมชั่ว  ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกรรมปัจจุบันหรือในอดีตก็ดีผลกรรมนั้นก็ย่อมส่งผลไม่ช้าก็เร็ว  แต่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดและก็ประเภท กับความรุนแรงของกรรมที่ขึ้นอยู่กับเจตนาหรือไม่เจตนา
แต่ใครหลายคนคงอยากจะรู้ว่า  การที่ตนได้รับทุกขเวทนาในเรื่องต่างๆ นั้น เป็นเพราะการทำผิดศีลข้อใด

ศีลข้อ 1 
            พึงให้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  การเบียดเบียนผู้อื่นหากใครที่ทำผิดศีลข้อนี้จะด้วยการกระทำในชาติใดก็ตามที่ผ่านมาหรือในชาติปัจจุบันก็ดี  กรรมนั้นย่อมส่งผลให้ผู้กระทำได้รับความเจ็บป่วยเกิดโรคภัยต่างๆ นานา  หรือหากวิบากกรรมรุนแรงก็ถึงกับทำให้บางคนอายุสั้นหรือตายก่อนอายุขัย
เรื่องการฆ่าสัตว์หรือเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นที่จัดให้เป็นศีลข้อแรกที่เราต้องพึงระวัง  เนื่องด้วยพระพุทธองค์ทรงเห็นว่า  ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ต่างย่อมรักชีวิตของตนมาเป็นอันดับแรก  จึงบัญญัติให้ศีลข้อนี้เป็นศีลข้อแรกที่ควรละเว้น
การฆ่าสัตว์หรือทำร้ายชีวิตผู้อื่น  ทำให้เจ็บปวดทั้งกายและใจ  ย่อมเป็นสิ่งที่พึ่งละเว้น    มิเช่นนั้นวิบากกรรมที่ตามมาก็หนีไม่พ้นทุกขเวทนาที่จะเกิดแก่เราเอง  อย่างเช่น  บุคคลที่ป่วยด้วยสารพัดโรค  หรือตายก่อนอายุขัยโดยส่วนมากจะตายอย่างฉับพลันที่เราเรียกกันว่า  ตายโหง  นั้น ล้วนมาจากกรรมการเบียดเบียนชีวิต  ซึ่งพิพากษาให้เขาต้องจบชีวิตลง  กรรมพิพากษาในข้ออาณาติบาต ได้ยกตัวอย่างมาเช่น ในสมัยที่แม่ยังเด็กนั้น  ในหมู่บ้านจะเลี้ยงวัวเลี้ยงควายกันมาก  เพราะนอกจะใช้ไถ่นาแล้ว ยังสามารถนำไปขายได้อีก ไม่เพียงเท่านั้นหากมีงานบุญ  งานแต่ง  งานศพก็มักจะฆ่าวัวฆ่าควายเพื่อใช้ทำอาหาร (ปัจจุบันก็ยังนิยมวิธีนี้อยู่) โดยจะมีเพชฌฆาตที่ทำการฆ่าเป็นคนในหมู่บ้านเอง  เพราะพวกเขาทำอาชีพนี้อยู่เป็นประจำจนชินเรียกว่าเป็น "อาจิณณกรรม"
           แม่เล่าได้เล่าว่าเพชฌฆาตรายนี้ได้ฆ่าวัวฆ่าควายมานับไม่ถ้วน  เพราะเป็นอาชีพของแกและแกก็ไม่ได้รู้สึกว่าสิ่งที่กระทำไปนั้นเป็นบาป  ดังนั้นความเห็นผิดคือมิจจฉาจึงเข้าครอบงำจิตใจของเขาแล้ว
เพราะ เห็นว่าสิ่งที่ตนได้กระทำไม่เป็นบาป  ฉะนั้นบุคคลจึงไม่มีความเชื่อในบาป  ในบุญ  หรือไม่เชื่อในกฎแห่งกรรมนั่นเอง  ครั้นต่อมา  เพชฌฆาตรายนี้ก็ได้ล้มป่วยลงด้วยหลายโรค และสมัยก่อนยังไม่มีสาธารณะสุขเข้ามาจึงต้องรักษาด้วยสมุนไพร  แต่อาการของแกก็ไม่ดีขึ้น ครั้นพอแกจะสิ้นใจก็ดิ้นพล่าน  ตาถลน เกิดภาพหลอนต่างๆ นานา และร้องเสียงเหมือนวัวควายที่กำลังจะถูกฆ่า แกเอามือกุมขมับและร้องว่าปวดหัวจะหัวจะแตก! นั่นก็เพราะกรรมจากการที่แกเอาด้ามจอบไปถุบหัววัวหัวควายเหล่านั้น   
          จากนั้นแกก็มีอาการเจ็บที่คอคล้ายกับมีมีดปลายแหลมเข้ามาแทนอย่างจัง! นั่นก็เพราะเมื่อแกทุบหัววัวควายจนล้มลงแล้วก็ใช้มีดปลายแหลมเฉือนเข้าไปที่ บริเวณลำคอของวัวควายจนเลือดไหลพุ่ง  แล้วชำแหละร่างของมันออกเป็นส่วนๆ เพชฌฆาตรายนี้จึงมีอาการไม่ต่างจากวัวควายที่เขาฆ่านับร้อยตัว แม่เล่าว่าแกทรมานอยู่เช่นนั้นหลายชั่วโมงเลยทีเดียว จนถึงวาระสุดท้ายที่สิ้นลม  ซึ้งการปรากฎภาพหลอนและเวทนาต่างๆ ของผู้รับกรรมนั้น  เกิดจากสิ่งที่ตนได้กระทำทั้งดีและชั่วจนถูกบันทึกไว้ในจิตตลอดการมีชีวิต อยู่ หากเมื่อใดที่ถึงวาระแห่งความตาย จิจสุดท้ายจะบ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าเขาจะไปนรก หรือขึ้นสวรรค์
          หากผู้ที่สั่งสมบุญมามากกว่าบาป ภาพที่ปรากฎในนิมิตก็จะมีแต่ความเป็นกุศล เช่นภาพที่ตนเคยใส่บาตร เคยให้ทาน เกิดปิติซาบซึ่งใจ หรือเกิดภาพดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมต่างๆ ทำให้จิตใจสดชื่น ไม่มัวหม่อง ส่งผลให้ภพภูมิต่อไปย่อมไปเกิดในสวรรค์
          ตรงกันข้ามกับผู้ที่กระทำความชั่วไว้มากกว่าความดี ผลของความชั่วนั้นก็ปรากฎในนิมิตให้เห็นเป็นภาพที่ตนเคยกระทำ ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดทุกขเวมนาเช่นเดียวกับผู้อื่นที่ตนได้เคยกระทำต่อ เขาไว้ หรือบางคนก็เห็นยมทูตมารับ  เห็นฝูงแร้งฝูงกาบินโฉบไปมา  เห็นเปลวไฟอันร้อนแลง แสดงให้เห็นว่าจิตสุดท้ายของเขาเป็นอกุศลเพราะสั่งสมความชั่วมา  ภพภภูมิต่อไปก็จะหนีไม่พ้นนรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน
         แต่ที่เราเห็นกันบ่อยครั้งก็เช่น  เวลาใกล้ตายลูกหลานมักจะให้ปู่ย่าตายายนึกถึงพระหรือฟังบทสวดมนต์ เมื่อตายไปจะได้ไปดี หรือการทำสังฆทานเป็นครั้งสุดท้ายก่อนตายโดยนิมนต์ให้พระมารับนั้น หากผู้ตายเคยสั่งสมบุญไว้มาก แน่นอนว่าสิ่งที่เขาได้กระทำในคราสุดท้ายนี้ย่อมจดจำไปจนถึงจิตสุดท้าย แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบุญเลย หากคราสุดท้ายลูกหลานให้นึกถึงพระ นึกถึงบุญ เขาก็จะนึกไม่ได้ นึกไม่ออก เพราะมีแต่ความชั่วที่ปรากฎในมโนภาพ เนื่องจากตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่เคยสร้างบุญเลยจึงนึกไม่ออกว่าการสร้างบุญ เป็นอย่างไร? ความปีติอิ่มใจนั้นเป็นอย่างไร? จิตของเขาจึงหมองหม่นจนวาระสุดท้ายก็ตกไปสู่อบายภูมิ
         ดังนั้นเรื่องของจิตสุดท้ายและการกระทำย่อมเป็นสิ่งเกี่ยวเนี่องกันเพราะหาก เราได้ทำดีไว้มาก จิตสุดท้ายย่อมนึกถึงแต่สิ่งดีๆ หากทำความชั่วไว้มาก จิตสุดท้ายก็นึกถึงสิ่งที่ชั่ว โดยการกระทำอันเกี่ยวเนื่องกับวาระจิตสุดท้ายนี้เองจะเป็นนสิ่งบ่งบอกได้ว่า เขาผู้นั้นจะไปสวรรค์ นรก หรือได้เกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง


ศีลข้อ 2 
 อทินนาทานาฯ พึงให้ละเว้นจากการลักขโมย  ฉ้อโกง  ยักยอก  หรือการได้ของคนอื่นมาโดยที่ผู้อื่นไม่เต็มใจ  หรือโดยที่เจ้าของเขาไม่รู้  แม้แต่การเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นทำให้เขาได้รับความเดือดร้อน  รับสินบน  กินใต้โต๊ะ  หรือแม้แต่ผู้ที่สนับสนุนส่งเสริมให้มีการทุจริตต่างๆ  ก็ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นเหมือนกัน
หากใครที่เคยกระทำผิดศีลข้อนี้ในชาติใดก็ตามที่ผ่านมาหรือในชาติปัจจุบันก็ดี  กรรมย่อมส่งผลให้ผู้กระทำถุกคดโกงจากผู้อื่นเสมอๆ  เป็นผู้เสียทรัพย์โดยไม่มีสาเหตุอันควร  หรือเป็นผู้ที่ทำมาหากินไม่ขึ้น  มักจะมีปัญหาด้านการเงินอยู่เสมอๆ
เช่น  ลักขโมย  ยักยอกทรัพย์  คดโกง  ก็ยังมีให้เห็นอยู่  ซึ่งการพิพากษาจากทางโลกก็คือ  การดำเนินคดีทางกฎหมาย  จับปรับ  หรือติดคุกก็แล้วแต่กรณี  หากแต่งการพิพากษาในกฎแห่งกรรมนั้นก็อย่างที่กล่าวไป  เช่น  มีปันหาด้านการเงินอยู่เสมอๆ  ถูกโจนขึ้นบ้านบ่อยๆ   ถูกจี้ชิงทรัพย์บ่อย  ถูกโกง ถูกยักยอก  ถูกเอารัดเอาเปรียบ  ฯลฯ  เพราะการที่เราทำกับเขาไว้หลายอย่างไร  เราก็ย่อมได้อย่างนั้น  เช่น  คนที่คดโกง  เมื่อถูกจับได้ก็ต้องถูกยึดทรัพย์  ไม่มีแม้บ้านจะให้อยู่อาศัย
การกระทำผิดศีลข้อสองนี้มีเหตุที่มาจากความโลภเป็นหลัก  เพราะหากไม่มีความโลภย่อมไม่เกิดการกระทำผิด ทุจริต  คดโกงใดๆ เกิดขึ้นกรรมก็ย่อมไม่ส่งผล 

ศีลข้อ 3 
 กาเมสุมิจฉาจาราฯ  พึงให้ละเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นชู้กับสามีภรรยาผู้อื่น  รวมไปถึงการมักมากในกาม  มีกิ๊กมาก  หรือการลักลอบได้เสียกันโดยที่พ่อแม่ไม่รู้  การพลัดพลรากของรักของหวงของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ก็ตาม  ซึ่งไม่ว่าการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นในชาติใดก็ตามที่ผ่านมาหรือในชาติปัจจุบันก็ดี  กรรมนั้นย่อมส่งผลให้ผู้กระทำไม่สมหวังในความรัก  หรือมักจะรักคนที่มรเจ้าของแม้มีคนที่รักแล้วก็จะถูกพลัดพรากด้วยสาเหตุต่างๆ  กลายเป็นอาภัพรัก  บางคนก็ไม่มีความสุขในชีวิตครอบครัว  ครอบครัวแตกแยก  หรือประเภทเกิดมามีกายเป็นชายแต่ใจเป็นหญิงก็นับเป็นผลจากการกระทำผิดศีลข้อนี้กรรมก็ตกถึงลูกถึงหลานได้  เป็นต้น
เช่น  มีให้เห็นอยู่ตามข่าวคราวในแต่ละวัน  โดยเฉพาะผู้ที่มีชู้  มีกิ๊กมาก  ทะเลาะตบตีกันด้วยความหึงหวง  บางครั้งก็ถึงกับฆ่าฟังกัน  เช่น  สามีไปมีเมียน้อย  พอเมียหลวงจับได้ก็ทะเลาะกันจนสุดท้ายสามีได้ใช้ปืนยิงเมียหลวง  แต่โชคยังดีที่ไม่ถึงแก่ชีวิต  ส่วนฝ่ายเมียน้อยก็เสมือนเป็นกรรมที่ติดตามทัน  ทำให้เธอต้องคลอดลูกก่อนกำหนดและลูกของเธอก็มีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง
กรรมพิพากษาจากการกระทำผิดศีลข้อสามนี้ไม่ใช่เพียงแต่การคบชู้เท่านั้น  รวมไปถึงการมักมากในกามและการละเมิดความเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น  เช่น  การลักลอบได้เสียกันโดยที่พ่อแม่ไม่รู้  ซึ่งส่วนมากได้กลายเป็นค่านิยมสำหรับวัยรุ่นไปแล้ว   แต่ผู้ที่เสียใจย่อมหนีไม่พ้นพ่อแม่

ศีลข้อ 4   
มุสาวาทาฯ  พึงให้ละเว้นจากการพูดเท็จ  พุดหยาบคายส่อเสียด  นินทาว่าร้าย  การพูดแหย่ให้ผู้อื่นแตกแยกกัน  ไม่ซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นหลอกลวง  กล่าวง่ายๆ  คือให้สำรวมในวาจา  และรักษาสัจจะ  หากใครที่กระทำผิดศีลข้อนี้ไม่ว่าจะในชาติใดก็ตามที่ผ่านมาหรือใน ชาติปัจจุบันก็ดีกรรมนั้นย่อมส่งผลให้ผู้กระทำถูกหลอกจากบุคคลอื่นบ่อยครั้ง  จะพูดจาสิ่งใดก็ไม่มีใครเชื่อถือศรัทธา  มีลูกน้องก็ไม่เชื่อฟัง  และมักจะพบเจอแต่คนไม่จริงจัง เป็นต้น
วาจานั้นมีความสำคัญมากต่อชีวิตของมนุษย์  เพราะการพุดสามารถทำให้คนรักกันได้  ทำให้คนเกลียดกันได้  ครูบาอาจารย์ท่านจึงให้สำรวมในวาจา  เพราะหากไม่สำรวมแล้วก็จะเกิดวจีกรรม  คือกรรมทางวาจาที่เป็นฝ่ายชั่ว  ซึ่งเป็นผลให้เกิดทุกข์เกิดโทษต่อตนเองและผู้อื่น
ไม่เฉพาะการสำรวมในวาจาเท่านั้น  แต่การรักษาสัจจะวาจา  ครูบาอาจารย์ท่านก็ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก  เพราะหากไม่รักษาสัจจะก็เท่ากับเป็นการโกหก  หลอกลวง  ไม่ซื่อสัตว์ในคำพูดนั้นๆ  ซึ่งแม้แต่คำพูดที่ตนได้เอ่ยออกไปยังไม่สามารถรักษาไว้ได้  ความน่าเชื่อถือและความศรัทธาก็จะหามีไม่
                ฉะนั้นวาจาจึงมีผลต่อความเชื่อถือศรัทธาและความไว้วางใจของผู้อื่นที่มีต่อเรา  เพราะหากเราไม่รักษาสัจจะวาจา  ไม่กระทำตามอย่างที่พูด  แล้วใครจะมาเชื่อถือ  หากใครที่กระทำผิดศีลข้อ 4  ก็ย่อมส่งผลทำให้ผู้นั้นขาดความเชื่อถือไปโดยปริยาย  ทั้งยังมีผู้คนรังเกียจ  หรือเจอแต่คนที่หน้าไหว้หลังหลอก  เพราะตนก็เคยหลอกลวงเขามาก่อน  เข้าทำนองในนิทานที่ชื่อว่า  เด็กเลี้ยงแกะ

ศีลข้อ 5   
สุราเมระยะฯ พึ่งให้ละเว้นจากการดื่มน้ำเมา  เสพยาเสพติด ศีลข้อ 5  นี้หากจะกล่าวโดยละเอียดแล้วยังรวมไปถึงอบายมุขต่างๆ  ซึ่งเป็นทางแห่งความเสื่อมที่เราควรละเว้นไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว  และการพนันขันต่อ
หากใครที่กระทำผิดศีลข้อ 5  นี้  ไม่ว่าจะในชาติใดก็ตามที่ผ่านมาหรือในชาติปัจจุบันก็ดี  กรรมนั้นย่อมส่งผลให้ผู้กระทำเป็นผู้มีสติปัญญาไม่ดี  เสียสุขภาพ  ซึ่งเรื่องของสุขภาพนี้จะเห็นได้ชัดจากผู้ที่ติดยา  ติดเหล้า  เพราะส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง  ทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ  ซึ่งก็เป็นผลจากกรรมคือการกระทำของตนที่ลุ่มหลงในสุราเสพติด
การดื่มสุราหรือการเสพยายังนำมาสู้ความประมาทขาดสติ  ทำให้เกิดการกระทำผิดศีลข้ออื่นตามมา   เช่น  เมาเหล้าขาดสติไปลักชิงปล้น  เข่นฆ่าผู้อื่น  ประพฤติผิดในกาม  ไม่สำรวมในวาจา  ฯลฯ  หรือการเล่นการพนัน  บุหรี่  เป็นที่ช่องสุมของยาเสพติดก็มี  หรือเป็นสถานที่ขายบริการก็มี  เป็นที่พบปะของเหล่าพวกรักสนุกก็มี   ดังนั้นสถานบันเทิงจึงเป็นสถานที่หนึ่งซึ่งนับเป็นอบายมุขที่ควรละเว้น  เพื่อป้องกันมิให้กระทำผิดศีลอีกหลายข้อตามมา 
และมิใช่เฉพาะผู้เสพเท่านั้น  แต่ผู้ส่งเสริมเช่นพวกเจ้าของกิการเหล้า เบียร์  สถานบันเทิงต่างๆ  ล้วนแต่ต้องได้รับกรรมเช่นกัน  แต่กรรมนั้นจะส่งผลเมื่อไรก็คงไม่มีใครทราบได้  เพราะขึ้นอยู่กับกำลังของบาปกรรมว่าจะมีกำลังแรงในช่วงไหน  โดยเฉพาะช่วงที่บุญอ่อนกำลังคือไม่ได้ประกอบบุญหรือแม้แต่จะทำบุญอยู่ตลอด  กรรมชั่วก็มีโอกาสส่งผลได้หากเวลามาถึง  โดยเฉพาะในเวลาที่จิตถูกครอบงำด้วยกิเลส

ที่มา :  กรรมพิพากษา  โดย อมตะ  เทพรักษา  และนาครัตนะ
 ข้อมูลทางบรรณานุกรม
 อมตะ   เทพรักษา              
 กรรมพิพากษา--กรุงงเทพฯ : บารมีธรรม, ๒๕๕๖. ๑๗๖ หน้า  ๑. กรรม. l. นาครัตนะ, ผู้แต่งร่วม l. ชื่อเรื่อง.๒๙๔.๓๑๒๒  ISBN : ๙๗๘-๖๑๖-๒๙๒-๑๑๙-๓
จัดพิมพ์โดย : บริษัท แฮปปี้บุ๊ค พับลิชชิ่ง จำกัด ๘ ถนนรามอินทรา  แขวงมีนบุรี กรุงเทพฯ ๑๐๕๑๐ โทรศัพท์ ๐-๕๓๐๒-๑๓๒๑   โทรสาร ๐-๕๓๐๒-๑๓๒๑
พิมพ์ที่  : บริษัท พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้วส์ จำกัด ๙๙/๕๑ หมู่ที่ ๒ ซอยเพชรเกษม ๘๑ ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแคม กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐
จัดจำหน่ายโดย : บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด
ราคา ๑๕๐ บาท   




11 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาเยอะดีน่ะค่ะ

    ตอบลบ
  2. ค่ะ เนื้อหาเยอะสาระก็เยอะนะค่ะ

    ตอบลบ
  3. กรรมตามทันเลยค้ะ

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาดี๊ดี ว่าเเต่มันคืออะไร

    ตอบลบ
  5. กรรที่เราได้กระทำกันไงหรือบรรลุนิพพานแล้วธมลวรรณอิอิ

    ตอบลบ
  6. อ่านแล้ว บรรลุเลย

    ตอบลบ
  7. เนื้อหามีสาระมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  8. ยานบุญบาปเลยบานนิ

    ตอบลบ